วิตามินเอ, Vitamin A คือ กลุ่มของไฮโดรคาร์บอนไม่อิ่มตัวมีคุณค่าทางโภชนาการ ซึ่งครอบคลุมถึง retinol, retinal, retinoic acid, และ provitamin A อื่นๆ วิตามินเอเป็นวิตามินที่ละลายในไขมัน มีผลต่อการเจริญเติบโต กระดูก และระบบสืบพันธุ์ และยังป้องกันการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ ทางเดินอาหาร และระบบขับปัสสาวะ ทำให้ผิวและเส้นผมที่มีสุขภาพดี ทำหน้าที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ
วิตามินเอถูกค้นพบโดย ดร. อี.วี. แมคคอลลัม (E.V. McCollum) นักวิทยาศาสตร์ชาวสหรัฐอเมริกา
วิตามินเอ มี 2 กลุ่ม คือ
- เรตินอล (Retinol) เป็นกลุ่มที่อยู่รูปแบบของวิตามินอยู่ (Proformed Vitamin A) พบในเนื้อสัตว์ เช่น น้ำมันตับปลา หอยนางรม เนื้อวัว ไข่ นม
- แคโรทีน (Carotene) เป็นกลุ่มที่กำลังจะเป็นวิตามิน (Provitamin A) เมื่อรับเข้าสู่ร่างกายจะถูกเปลี่ยนเป็นวิตามินเอ พบในผักสีต่างๆ เช่น แครอท ยอดกระถิน ผักโขม ฟักทอง แคนตาลูป มันฝรั่งหวาน ผักโขม
ประโยชน์ของวิตามินเอ
- บำรุงสายตา และแก้โรคตามัวตอนกลางคืน
- ช่วยให้กระดูก ฟัน และเหงือกที่มีสุขภาพดี
- สร้างความต้านทานต่อระบบทางเดินหายใจ
- ช่วยในการสร้างภูมิทัศน์ที่ดีขึ้น และทำให้หายป่วยได้เร็วขึ้น
- ช่วยในการบำรุงผิว ลดการอักเสบของสิว และช่วยลบจุดดำบนผิว
- บรรเทาโรคต่อมไทรอยด์
การใชวิตามินเอในทางการแพทย์
มีการใช้วิตามินเอในรูปของ Retinyl palmitate ผสมในครีมบำรุงผิว ซึ่งจะแตกโครงสร้างเป็น retinol และจะเปลี่ยนไปเป็น Retinaldehyde ก่อนที่จะแตกตัวเป็น retinoic acid ซึ่งมีฤทธิ์ทางชีวภาพสามารถกระตุ้น Retinoid Receptors ในเซลล์ผิว ซึ่งจะช่วยเสริมกระบวนการผลัดตัวของเซลล์ ( Turnover) กระตุ้นการสร้างคอลาเจนและอีลาสติน ทำให้เซลล์ผิวทำงานเป็นปกติ ซึ่งมีประโยชน์ในการรักษาสิว บรรเทาความเสียหายที่เกิดขึ้นจากแสงแดด และสามารถกระตุ้นการสร้างคอลาเจนใต้ผิวหนังได้
Retinyl palmitate –> Retinol –> Retinaldehyde (Retinal) –> Retinoic acid (Retinoid)
ตัวอย่างยารักษาสิวที่มีส่วนผสมของ Retinoic acid ได้แก่ Retin-A
แหล่งที่พบวิตามินเอ
ผักและผลไม้ที่ให้วิตามินมากที่สุด คือ ผักผลไม่ที่มีสีเหลือง สีส้ม สีเขียว สีแดง เพราะมีเบต้าแคโรทีนที่ร่างกายจะเปลี่ยนเป็นวิตามินเอต่อไป วิตามินในผักและผลไม้มีความไวต่อออกซิเจน ดังนั้นวิธีการต้นผักที่ช่วยป้องกันการสูญเสียวิตามินได้ดีที่สุด คือ ต้มผักโดยปิดภาชนะและใส่น้ำเล็กน้อย
ปริมาณที่ร่างกายมนุษย์ต้องการวิตามินในแต่ละวันอยู่ที่ 4,000-5,000 IU
แหล่งอาหารที่พบวิตามินเอสูง ได้แก่
- cod liver oil (30000 μg)
- liver (turkey) (8058 μg)
- liver (beef, pork, fish) (6500 μg 722%)
- liver (chicken) (3296 μg)
- dandelion greens (5588 IU 112%)[21]
- carrot (835 μg 93%)
- broccoli leaf (800 μg 89%) – According to USDA database broccoli florets have much less.[22]
- sweet potato (709 μg 79%)
- butter (684 μg 76%)
- kale (681 μg 76%)
- spinach (469 μg 52%)
- pumpkin (400 μg 41%)
- collard greens (333 μg 37%)
- Cheddar cheese (265 μg 29%)
- cantaloupe melon (169 μg 19%)
- egg (140 μg 16%)
- apricot (96 μg 11%)
- papaya (55 μg 6%)
- mango (38 μg 4%)
- pea (38 μg 4%)broccoli (31 μg 3%)
- milk (28 μg 3%)
- tomatoes
- Seaweed
ผลกระทบของการได้รับวิตามินเอไม่เพียงพอ
- โรคผิวหนัง เนื่องจากวิตามินเอเป็นสิ่งจำเป็นในการรักษาเยื่อบุของผิว การขาดวิตามินเอทำให้ผิวขาดความชุ่มชื้น ผิวแห้งหยาบกร้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ข้อศอก ข้อเท้าและข้อต่ออื่น ๆ ซึ่งอาจนำไปสู่โรคผิวหนัง เช่น สิว และการติดเชื้ออื่น ๆ
- สายตาพร่ามัว เนื่องจากวิตามินเอมีหน้าที่ช่วยในการสร้างสารที่ใช้ในการมองเห็น เมื่อร่างกายขาดวิตามินเอจะทำให้มองเห็นในเวลากลางคืนหรือในที่มีแสงน้อยได้ยาก แผลที่กระจกตา เยื่อบุตาแห้ง ในกรณีที่รุนแรงสามารถทำให้ตาบอด
- ความต้านทานโรคต่ำ วิตามินเป็นสิ่งสำคัญที่ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายของเราทำงานตามปกติ การขาดวิตามินเออาจทำให้เกิดการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจได้ง่าย นอกจากนี้ยังทำให้เกิดการอักเสบในโพรงจมูก ช่องปาก คอ และะต่อมน้ำลาย
ผลกระทบของการได้รับวิตามินเอเกินความต้องการ
- ลูกพิการหรือแท้งลูก หญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับวิตามินเอมากเกินความต้องการ มีความเสี่ยงให้ทารกในครรภ์คลอดมาพิการหรือแท้งลูกได้ เพราะวิตามินที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ ซึ่งอาจทำให้เด็กมีความผิดปกติของระบบทางเดินปัสสาวะ กระดูกผิดรูป หรือติ่งปูดออกที่บริเวณหู
- อ่อนเพลีย ถ้าร่างกายได้รับวิตามินเอเกินครั้งละ 15,000 ไมโครกรัม จะมีผลทำให้อ่อนเพลีย ร่ายกายล้า และอาเจียนได้
- ปวดกระดูกและข้อต่อ เบื่ออาหาร นอนไม่หลับ ปวดศีรษะ ผมร่วง ท้องผูก ทั้งหมดนี้มีสาเหตุมาจากผลระยะยาวของการกินวิตามินเอมากเกินไป
- เกิดความผิดปกติของกระดูก โดยเกิดขึ้นในสัตว์กระเพาะเดี่ยว (เช่น มนุษย์) ที่ได้รับวิตามินเอเกิน 4-10 เท่าของความต้องการ และเกิดในสัตว์เคี้ยวเอื้องที่ได้รับวิตามินเอมากกว่า 30 เท่าของความต้องการ